วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

บทความว่าด้วยการลงโทษนักเรียนนักศึกษา

.          คำถาม   เมื่อนักศึกษาอ่านบทความนี้แล้วให้แสดงความคิดเห็นว่า  การลงโทษนักเรียนนักศึกษา ครูควรยึดหลักอะไรเป็นที่ตั้ง  และในภาพเป็นจริงแล้วควรที่จะมีขั้นตอนทำอย่างไรที่เห็นว่าถูกต้องและปลอดภัย  ให้นักศึกษาสรุปและตอบคำถามดังกล่าวนี้ลงในกระดาษ A4 และส่งอาจารย์ด้วย


        การลงโทษมีจุดประสงค์หลักเพื่อให้หลาบจำ และไม่ทำพฤติกรรมเช่นนั้นอีก โดยต้องการให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่ถูกต้องดีงามตามที่สังคม กำหนด แนวคิดของจุดประสงค์ของการลงโทษยังคงเป็นอยู่ถึงแม้ว่าจะมีวิธีการที่ เปลี่ยนไป แต่จุดประสงค์หลักยังไม่เปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการลงโทษกับประชาชนทั่วไป หรือการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา
       วิทยาการด้านการพิจารณาลงโทษได้ พัฒนาไปมาก มีการศึกษาวิจัยถึงระดับปริญญาเอก โดยสาระสำคัญต้องการให้การลงโทษเกิดประโยชน์กับสังคม และปัจเจกบุคคลมากที่สุด จะเห็นได้ว่ามีการปรับเปลี่ยนวิธีการลงโทษจากวิธีที่ใช้การทำร้ายร่างกายและ จิตใจ มาสู่การแก้ไขพฤติกรรม และการจำกัด หรือกักขัง ไม่ให้สร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมหรือผู้อื่น
 การลงโทษนักเรียนนักศึกษา
       แนวคิด ว่าการลงโทษเป็นความจำเป็นในการสร้างคนให้มีคุณภาพ ถึงกับมีคำกล่าวว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” และเมื่อเอ่ยถึงคำว่า “ไม้เรียว” เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนที่มีตำแหน่งหน้าที่การงานระดับสูง หรือ เป็นเพียงพนักงานธรรมดา ๆ ที่เคยผ่านการอบรมบ่มเพาะจากโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษามาอย่างเข้มข้นคงได้เคยสัมผัสและรู้จักรสชาติของไม้เรียว เป็นอย่างดี
       ถ้ามองย้อนกลับไปถึงนัยของการทำโทษนักเรียน นักศึกษาในอดีตดูเหมือนจะถูกทำโทษด้วยไม้เรียวกันเป็นประจำจนเป็นเรื่องปกติ และเมื่อมีงานเลี้ยงรุ่นของบรรดาศิษย์เก่าของโรงเรียนต่าง ๆ ที่มารวมตัวกันต่างนำเรื่องการโดนไม้เรียว หรือการทำโทษต่าง ๆ เช่น เดินเป็ด ขนมจีบ สองเกลี่ยวบิดพุง คาบไม้บรรทัด ขว้างด้วยแปลงลบกระดาน วิ่งรอบสนาม ล้างส้วม ทำงานหนักอื่น ๆ และที่หนักมากที่สุดคือ การเฆียนตีหน้าเสาธง หรือหน้าชั้นเรียน เรื่องการลงโทษและถูกทำโทษด้วยวิธีแปลก ๆ นี้เมื่อเวลาผ่านไป ได้ถูกนำมาพูดกันอย่างสนุกสนาน ยิ่งถ้าครูคนไหนดุ หรือทำโทษบ่อยมาก ๆ ก็จะเป็นที่จดจำของบรรดาลูกศิษย์ ซึ่งอาจเป็นทั้งที่รักและที่เกลี่ยดชังด้วยก็มี การทำโทษด้วยการใช้ไม้เรียว เฆี่ยน ตี หรือ การทำโทษด้วยวิธีการต่าง ๆ ที่เกิดเป็นความบอบช้ำไม่เฉพาะด้านร่างกายเท่านั้นยังส่งผลต่อจิตใจของผู้ เรียน และผู้ปกครองอีกด้านหนึ่งด้วย
       จึงมีคำถามตามมาว่าครูควรจะ ลงโทษแบบไหน ถึงจะเรียกว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม คำตอบที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดก็คือ ครูควรมีจิตสำนึกของความเป็นครูอันเป็นพื้นฐานที่แข็งแรง เพราะหากมีการทำโทษด้วยจิตสำนึกดังกล่าวถึงแม้ว่าจะออกมาในรูปแบบของการ เฆี่ยนตี แต่ก็ด้วยความมุ่งหมายที่ต้องการให้ผู้เรียนหลาบจำ ไม่ต้องการให้มีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของสังคมอีก ปัจจุบันด้วยจิตสำนึกของครู (บางคน) ขาดหายไปจึงเกิดกรณีเป็นข่าวในเรื่อง การทำโทษนักเรียนหรือ นักศึกษาเกินกว่าเหตุ และเมื่อพิจารณาแล้วการทำโทษในบางครั้งแทบจะไม่มีเยื่อใยความผูกพันระหว่าง ความเป็นครูกับศิษย์ ให้เห็นเลย
       แหล่งที่มา :  หนังสือพิมพ์ไทยรัฐออนไลน์